การวิ่งผลัด
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การวิ่งผลัด เป็นการวิ่งตามระยะทางที่กำหนดโดยมีผู้เข้าแข่งขันเป็นชุด ๆ ตั้งแต่ 2 ชุดขึ้นไป โดยมีคทา เป็นอุปกรณ์ในการรับส่งช่วงการ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วิ่งจนกว่าจะหมดระยะทางที่กำหนด | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มีการแบ่งการวิ่งผลัดออกเป็นหลายรายการ คือ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1. วิ่งผลัดระยะทางเท่ากัน โดยผู้แข่งขันแต่ละชุดต้องวิ่งแข่งขันในระยะทางที่เท่ากัน มี | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1.1 วิ่งผลัด 5x80 เมตร ผู้แข่งขัน 5 คน วิ่งคนละ 80 เมตร | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1.2 วิ่งผลัด 8x50 เมตร ผู้แข่งขัน 8 คน วิ่งคนละ 50 เมตร | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1.3 วิ่งผลัด 4x100 เมตร ผู้แข่งขัน 4 คน วิ่งคนละ 100 เมตร | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1.4 วิ่งผลัด 4 x200 เมตร ผู้แข่งขัน 4 คน วิ่งคนละ 200 เมตร | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1.5 วิ่งผลัด 4x400 เมตร ผู้แข่งขัน 4 คน วิ่งคนละ 400 เมตร | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2. วิ่งผลัดต่างระยะ ผู้แข่งขันแต่ละคนอาจจะวิ่งในระยะทางที่ไม่เท่ากันแต่รวมระยะทางของแต่ละชุดแล้วต้องเท่ากันมี | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2.1 วิ่งผลัด 80x70x50x50x70x80 เมตร ผู้เข้าแข่งขัน 6 คน แบ่งการวิ่งเป็นวิ่ง 80 เมตร 2 คน วิ่ง 70 เมตร 2 คน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2.2 วิ่งผลัด 80x120x120x80 เมตร ผู้เข้าแข่งขัน 4 คน แบ่งการวิ่งเป็น วิ่ง 80 เมตร 2 คน วิ่ง 120 เมตร 2 คน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การถือคฑาตั้งต้นวิ่ง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การถือคฑาออกวิ่งนั้น มักจะยึดหลักให้ถือคทาด้วยมือซ้ายเสมอ และให้เท้าขวาอยู่ข้างหลัง เพราะจะได้ส่งให้กับผู้รับซึ่งรับ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ด้วยมือขวาสะดวก และการแกว่งแขนออกวิ่ง แขนซ้ายที่เหวี่ยงไปข้างหลังจะได้สะดวก คทาจะได้ไม่หลุดมือ แต่หากว่าคนรับถนัด | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ใช้มือซ้ายในการรับ ก็อาจถือคทาด้วยมือขวาได้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วิธีที่ 1 ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้หนีบคฑาบริเวณส่วนกลางใช้ปลายนิ้วทั้ง 5 ยันพื้นไว้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วิธีที่ 2 ใช้นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย จับกำรอบคฑาทางส่วนหลัง ใช้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ และข้อนิ้วที่สองของนิ้วอื่นยันพื้น | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วิธีที่ 3 ใช้นิ้วกลางนิ้วเดียวกำรอบคฑา ใช้ปลายนิ้วอื่นยันพื้น | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วิธีที่ 4 ใช้นิ้วกลางและนิ้วนางกำรอบคฑา ใช้ปลายนิ้วที่เหลือยันพื้น | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วิธีที่ 5 ใช้นิ้วชี้นิ้วเดียวกำรอบคฑา ใช้นิ้วที่เหลืออีก 4 นิ้วยันพื้น | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ในการถือคฑาทั้ง 5 วิธีนี้ ให้หัวคฑาชี้ตรงไปข้างหน้าตามทางวิ่งและไม่ให้หัวคฑาแตะพื้นบนเส้นเริ่มหรือแตะพื้นเลยเส้นเริ่มออกไป | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เพราะถือว่าเป็นการผิดระเบียบของการเริ่มต้น และใช้ท่าทางการออกสตาร์ทเช่นเดียวกันกับการวิ่งระยะสั้น | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การรับ-ส่งคทา | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การรับส่งคทา แบ่งออกตามลักษณะมือผู้รับและลักษณะการส่ง คือ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1. ผู้รับเหยียดแขนไปข้างหลัง หงายฝ่ามือ แยกนิ้วหัวแม่มือออกจากนิ้วอื่น ฝ่ามืออยู่ต่ำกว่าระดับไหล่ ผู้ส่งคทา ฟาดคทาลงบนฝ่ามือ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ของผู้รับ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2. ผู้รับเหยียดแขนไปข้างหลังเฉียงออกทางด้านนอก หงายฝ่ามือขึ้น นิ้วหัวแม่มือแยกออกจากนิ้วอื่น ฝ่ามืออยู่สูงกว่าระดับสะโพก | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประมาณ 4-5 นิ้ว ผู้ส่งฟาดคทาลงบนฝ่ามือผู้รับ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3. ผู้รับเหยียดแขนไปข้างหลังให้มืออยู่ในระดับสะโพก หันฝ่ามือไปข้างหลัง นิ้วมือชี้ลงพื้นกางนิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้ออกจากกันผู้ส่ง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตีคทาขึ้นให้เข้าฝ่ามือผู้รับระหว่างนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4. ผู้รับยืนงอแขนให้นิ้วหัวแม่มือจดสะเอว กางข้อศอกออก นิ้วหัวแม่มือแยกออกจากนิ้วอื่น ๆ ผู้ส่งเหยียดแขนและตีคทาขึ้นให้เข้าฝ่า | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มือผู้รับ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อควรปฏิบัติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1. ผู้ส่งต้องพยายามเร่งฝีเท้าให้ทันผู้รับคทาอย่างรวดเร็ว เพื่อจะได้รับ-ส่ง ให้ทันภายในเขตรับ-ส่ง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2. ต้องเหยียดแขนออกไปให้ได้จังหวะ ไม่ช้าหรือเร็วเกินไป เพราะจะทำให้ฝีเท้าลดลง ในการวิ่งผลัดระยะสั้น ระยะรับส่งคทาควรอยู่ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ในระหว่าง 15-18 เมตร หลังจากเส้นเริ่มของเขตรับส่ง ส่วนวิ่งผลัดระยะไกลประมาณ 5-12 เมตร หลังเส้นเริ่ม | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3. ฟาดคทาลงบนมือผู้รับด้วยความแรงพอสมควร ไม่ปล่อยคทาจนกว่าผู้รับจะรับได้มั่นคงและมีแรงดึงจากมือ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4. ผู้ส่งต้องอยู่ในช่องวิ่งของตนเอง จนกว่านักกีฬาทีมอื่น ๆได้ออกวิ่งเลยไปหมดแล้วจึงจะออกจากลู่วิ่งได้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5. เมื่อวิ่งถึงผู้รับแล้วจะต้องไม่ลดฝีเท้าลง ให้วิ่งชะลอไปกับผู้รับ จนกระทั่งถึงจุดรับส่งซึ่งได้กำหนดไว้จึงส่งคทาออกไป | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6. วิธีถือคทาเพื่อส่งให้ผู้รับแบบสากลนิยม ที่ได้ผลดีมากที่สุดเริ่มด้วย ผู้ตั้งต้นออกวิ่งด้วยการถือคทาด้วยมือขวาวิ่งไปส่งให้ผู้รับคนที่ 2 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ซึ่งยืนชิดขอบขวาของช่องวิ่ง และรับคทาด้วยมือซ้าย วิ่งไปส่งให้คนที่ 3 ซึ่งยืนชิดขอบซ้ายของช่องทางวิ่งและรับคทาด้วยมือขวา | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วิ่งไปส่งให้คนสุดท้าย ซึ่งจะยืนชิดขอบขวาช่องวิ่งและรับคทาด้วยมือซ้ายวิ่งไปตลอดระยะทาง ทั้งนี้ ผู้รับไม่ต้องเปลี่ยนมือ เมื่อรับ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คทาแล้ว ทำให้ไม่เสียความเร็วในการวิ่ง
|
วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555
การวิ่งผลัด และการตั้งต้นวิ่งผลัด
การวิ่งระยะต่างๆ
การวิ่งระยะสั้น | ||
เป็นการวิ่งแข่งขันระยะทาง ตั้งแต่ 60 เมตร 80 เมตร 100 เมตร จนถึง 200 เมตร ทักษะที่สำคัญของการวิ่งระยะสั้น | ||
คือ การออกสตาร์ท การวิ่ง และการเข้าเส้นชัย ส่วนข้อผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นก็คือ | ||
1. ที่ยันเท้าเพื่อออกสตาร์ทนั้นอยู่ห่างจากเส้นเริ่มมากเกินไปหรือชิดเส้นเริ่มมากเกินไปทำให้ไม่สะดวกในการทรงตัว | ||
2. ยกสะโพกสูงเกินไปทำให้ขาเหยียดตรง ไม่มีแรงถีบส่งและถ้าต่ำเกินไปก็ออกแรงไม่ถนัด | ||
3. น้ำหนักตัวโล้ไปข้างหน้ามากเกินไป ทำให้เสียการทรงตัว และถ้าน้ำหนักอยู่หลังเกินไปจะทำให้เสียเปรียบในการออก | ||
แรงเคลื่อนตัวผ่านไปข้างหน้าเส้นเริ่ม | ||
4. การหายใจไม่ถูกต้องก่อนการเริ่มออกวิ่งและในขณะวิ่ง นักกีฬาต้องรู้และมีประสบการณ์ด้วยตนเองว่าควรหายใจ | ||
ด้วยวิธีใดจึงจะให้เกิดผลดีที่สุด และมีอากาศเพียงพอตลอดระยะทางการวิ่ง | ||
การวิ่งระยะกลาง | ||
เป็นการวิ่งระยะ 400 เมตร และ 800 เมตร การวิ่งระยะกลาง ต้องอาศัยฝีเท้าการวิ่งแบบระยะสั้น ใช้ความเร็วและความ | ||
ทนทานแบบการวิ่งระยะไกล นักกีฬาวิ่งระยะสั้นจึงสามารถเปลี่ยนมาวิ่งระยะกลางได้ไม่ยาก เพียงแต่ฝึกความทนทานให้มากขึ้น | ||
และเช่นเดียวกัน นักกีฬาวิ่งระยะไกลก็สามารถเปลี่ยนมาวิ่งระยะกลางได้โดยฝึกความเร็วเพิ่มขึ้นเท่านั้น ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุด คือ นักกีฬา | ||
ระยะกลางต้องรู้ว่าตนเองต้องใช้กำลังอย่างไรตลอดระยะทางการวิ่ง จังหวะการก้าวขา ความสัมพันธ์ของการแกว่งแขนและการก้าว- | ||
เท้า รู้จักผ่อนกำลังเมื่อวิ่งเลย 200 เมตรไปแล้วในการวิ่ง 400 เมตร และผ่อนกำลังเมื่อเลย 400 เมตรในการวิ่ง 800 เมตรเมื่อวิ่งไป | ||
ได้ 20-25 % ของระยะทางทั้งหมดให้เริ่มวิ่งเต็มฝีเท้าจนถึงเส้นชัย การวิ่งขึ้นหน้าคู่ต่อสู้ให้วิ่งขึ้นทางขวาของคู่แข่งและอย่าให้ | ||
ถูกคุมจากนักกีฬาคนอื่นจนวิ่งขึ้นหน้าไม่ได้ ไม่จำเป็นอย่าเร่งขึ้นหน้าตรงทางโค้ง ให้รู้ความสามารถของตนเองไม่ควรวิ่งเร็วไป | ||
พร้อมกับนักกีฬาคนอื่น ๆ และไม่ควรปล่อยให้คู่แข่งนำหน้าเกิน 6-7 เมตรในการวิ่ง 400 เมตร และไม่เกิน 12-15 เมตร ในการวิ่ง | ||
800 เมตร | ||
การวิ่งระยะไกล | ||
เป็นการวิ่งระยะทางตั้งแต่ 1,500 เมตรขึ้นไป ลักษณะของนักกีฬาวิ่งระยะไกล มีรูปร่างค่อนข้างสูง น้ำหนักปานกลาง | ||
กล้ามเนื้อหัวใจมีความแข็งแรง สิ่งสำคัญในการวิ่งระยะไกลคือ จังหวะในการวิ่ง จังหวะในการก้าวขาและการแกว่งแขนที่จะใช้กำลัง | ||
ให้น้อยที่สุด การก้าววิ่งเต็มฝีเท้าช่วงก้าวยาวสม่ำเสมอรักษาช่วงก้าว ให้เท้าสัมผัสพื้นในลักษณะลงด้วยปลายเท้าผ่อนลงสู่ส้นเท้า | ||
ลำตัวตั้งมากกว่าการวิ่งระยะอื่น ไม่ปล่อยให้คู่แข่งวิ่งนำหน้ามากกว่า 25-30 เมตร ในการวิ่ง 1,500 เมตร และไม่มากกว่า 40-50 | ||
เมตรในการวิ่ง 3,000 เมตร | ||
![]() |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)